Thursday, November 1, 2012

ปลากระมัง



ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนเป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus (เดิม Puntius หรือ Barbodes gonionotus) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินเเวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน
ปลา ตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บอร์เนียว อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 ซ.ม.
พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลากินพืช แมลง สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้
ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น " ตะเพียนขาว " หรือ " ตะเพียนเงิน " ภาคอีสานเรียกว่า " ปาก



ปลาตะเพียนปลากระมัง
เป็น ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites proctozysron อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomini มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนและปลาตะพาก แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 ซ.ม.
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ นิยมบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
กระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น " มัง " ที่บึงบอระเพ็ด " วี " ที่เชียงราย " เหลี่ยม " หรือ " เลียม " ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก " แพะ " และภาคอีสานเรียก " สะกาง "


"



ปลากระแห
ปลา น้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii (เดิม Babodes และ Puntius schwanenfeldii) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อCyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. ถึง 25 ซ.ม.





ปลาตะเพียนเจ้าพระยา ที่อ่างทอง




ตกเล่นๆ ปลาตะเพียนเจ้าพระยา ที่อ่างทอง


สวัดดีครับพี่ ป้า น้า อา ทุกๆท่านผมมีทริบเล็กมาฝากกันนิดหน่อยนะครับ ก็จะเป็นทริบที่อ่างทองละครับงานนี้ใช้คันชินหลิวตกครับหรือคันเบ็ดเล็กครับ จะเหมาะกว่า ว่าแล้วก็ลงไปที่ชายน้ำทำป่าเทียมครับ เพื่อล่อปลาให้เข้ามาอยู่ เสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณสองชั่วโมงถึงจะตกได้ ส่าวเหยื่อเราใช้ยอดถั่วอะไรก็ได้ครับ หรือใบผักชีก็ได้ เวลาตกก็ย่อนที่ป่าที่เราทำนะครับผมลองตกดูปลากินดีมากเลยครับ ที่ผมตกไม่ใช่พวกบ่อ หรือคลองนะครับแต่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาครับ ใครละจะคิดว่ามีตัวจริงไหมครับ ระดับน้ำเท่าเอวครับจะเหมาะมากแล้วอีกอย่างครับปลาตะเพียนแม่น้ำเนื้อแข็ง และแน่มากครับต่างจากปลาบ่อมากเลยครับ…(ยาวแล้ว)งั้นจบแค่นี้แล้วกันนะ ครับ สวัดดีครับ


ในกะมังข้างๆก็มีจ้า


ลาด้วยภาพนี้กันครับ ภาพมีน้อยไปนิด(โทรศัพท์แช่น้ำตอนทำพุ่ม อิอิ)ไว้คลาวหน้าแก้ตัวใหม่นะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : หวานหวานเย็นเซ

ปลา ปลาตะเพียน



ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน จัดเป็นปลามีเกล็ด เป็นปลาน้ำจืดที่นิยมรับประทานมากของชาวอีสาน ชาวบ้านมักเรียกว่า " ปลาขาว "
ปลาตะเพียน เป็นปลาที่มีราคาประมาณ กิโลกรัมละ ๕๐ - ๗๐ บาท
อาหารที่ได้รับจากปลาตะเพียน ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ ปลาตะเพียนเผา ปลาตะเพียนนึ่ง และปลาส้มที่ทำจากปลาตะเพียน ทั้งชนิดสับละเอียดและเป็นตัว
สำหรับไข่ปลาตะเพียนนิยมนำมาทำส้มไข่ปลา หรือนำไปทำห่อหมกไข่ปลาตะเพียนรับประทานก็อร่อยดี


ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนขาว...วับวาวสีเงิน



ปลาตะเพียนขาว...วับวาวสีเงิน


ภาพจากกรมประมง

ปลาตะเพียน (ปลาตะเพียนขาว)
ชื่อสามัญ : Common Silver Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes gonionotus

ข้อมูลกรมประมง

ปลาตะเพียน
ชื่อสามัญอังกฤษ Java Barb, Silver Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
วงศ์ย่อย Cyprininae

จากวิกิพีเดีย



ปลาตะเพียนในตู้เลี้ยงปลารวมกับปลาตะเพียนทอง
ยังมองเห็นหางปลาตะเพียนทอง ไหว ไหว

ปลาตะเพียน
เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่รู้จักดีและอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย
โดย เฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. 2251- 2275 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา มีพระนามว่าสมเด็จพระภูมินทรมหาราชา โดยพระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง
และยังทรงมีพระนามอื่นที่เกี่ยวกับปลาคือขุนหลวงทรงปลา

ทรง เป็นกษัตริย์ที่โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือ ปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท

( ข้อมูลจากวิกิพีเดีย )


ปลาตะเพียนทองอ้าปากประท้วงว่า คราวนี้ถ่ายรูปแต่ปลาตะเพียนเงินเหรอ แล้วพวกฉันล่ะ ไม่มีความหมายรึไงกัน

ลักษณะทัวไป
ปลาตะเพียนมีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป
มี ลำตัวค่อนข้างอ้วนป้อมแบนข้าง เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กอยู่หน้าสุด ลักษณะแตกต่างจากปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือตะเพียนขาวมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นจำนวน 6 ก้าน ส่วนชนิดอื่น ๆ มี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหลังมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวเงิน ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ครีบอื่นๆ สีซีดจาง เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่ายน้ำได้รวดเร็วเร็ว เมื่อตกใจจะกระโดดสูงมาก

นิสัย
รับ สงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงนอกจากเวลาสืบพันธุ์หรือวางไข่ มีความว่องไวปราดเปรียว ชอบหลบซ่อนตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย

ถิ่นอาศัย

พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน พบในแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหาร
กินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากพืชซากสัตว์ แพลงตอน สัตว์หน้าดิน แมลง ไรน้ำ


ภาพไม่ชัดแต่พอมองเห็นความแตกต่างของปลาตะเพียนขาว ( ตะเพียนเงิน) และปลาตะเพียนทอง
ปลาทั้งสองชนิดนี้ว่ายน้ำปราดเปรียวว่องไวมาก

เป็น ปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม

ประโยชน์
เนื้อ ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น เช่น ตะเพียนต้มเค็ม ปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาตะเพียนขาว แม้จะเป็นปลาที่มีก้างมาก และยังนิยมนำไปทำเป็น ปลาร้า ปลาเจ่า ปลารมควั รวมทั้งใส่เกลือตากแห้ง

นอก จากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือกซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้


ภาพจากอินเทอร์เนท
ปลาตะเพียนตัวนี้อ้าปากเสียแล้ว ก็แปลว่าสิ้นลมปลาไปแล้ว

ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่คุ้นเคยกับครัวบ้านพลอยโพยมมากที่สุดในบรรดาปลาวงศ์ปลา ตะเพียน เป็นปลาที่เข้ามาอยู่ในซั้งมากมีหลายขนาด เมื่อจัดการแบ่งสรรให้คนอื่นไปแล้ว ก็มาถึงมือแม่ละม่อมดำเนินการทำปลาตะเพียนต้มเค็มสูตรของชาวบางกรูด ขอดเกล็ดทิ้ง บ้านพลอยโพยมไม่กินเกล็ดปลาทุกชนิด มีหลงมาไม่กี่เกล็ดก็บ่นแล้วว่าทำปลามาไม่ดี (โดยไม่ใช่ฝีมือแม่ละม่อมแน่นอน) ยิ่งเครื่องในปลาทุกชนิดควักออกหมดรวมทั้งไข่ปลา ที่บ้านพลอยโพยมกินไข่ปลาช่อนชนิดเดียว ชนิดอื่นทิ้งหมด เล่าไปเล่ามาก็อย่าว่ากัน นานาจิตตัง นั่นเอง
ถ้าปลาตะเพียนตัวใหญ่มาก ต้องแบ่งครึ่งตัว เพราะตักปลาขึ้นมาจากหม้อแล้วตัวปลาเลยล้นจาน ถ้าใส่จานได้ทั้งตัวก็ไม่ต้องแบ่ง บั้งปลาให้เวลาต้มน้ำที่ปรุงรสเข้าไปในเนื้อปลาได้ทั่ว

เมื่อเปิดดู ในอินเทอร์เนทแล้ว เห็นแต่ละสูตรมีเครื่องเคราเป็นเครื่องปรุงมากมายใส่พริกไทยก็มี มีเครื่องเคียงเวลาเสริฟต้องประดับประดาสวยงาม ขอดเกล็ดบ้างไม่ขอดเกล็ดบ้าง เอาไปทอดก่อนบ้าง ผัดเครื่องปรุงก่อนบ้าง ใส่หมูสามชั้นบ้าง บางตำราใส่ดินประสิว (แม้จะสามสี่เกล็ด) บ้างเพื่อให้เปื่อยยุ่ย หรือใส่มะละกอดิบหั่นเพื่ออาศัยยางมะละกอช่วยให้เนื้อปลาเปื่อยบ้าง (แล้วตักออกทีหลัง) และหลายสูตรใส่ส้มมะขามเพื่อให้มีสามรสคือเปรียวเค็มหวาน
แต่ละคนก็เป็นสูตรโบราณตามท้องถิ่นบ้านของตนเอง



ปลาตะเพียนขาวจากเรือผีหลอก
ซึ่งเพิ่งตายไม่นานยังมองเห็นลูกตาของ ป.ปลาตากลม สดใสอยู่

ที่บางกรูดไม่มีความยุ่งยากขนาดนั้น
ปลา ต้มเค็มก็คือมีรสหวานและเค็มเท่านั้น ต้มก็คือต้มไม่มีการทอดไม่มีการผัดเครื่องปรุง ปลาก็คือปลาไม่ต้องมีการใส่เนื้อชนิดอื่น ไม่ต้องต้มน้ำซุบ
เรื่องนี้เป็นเรื่องของนานาจิตตัง ตามใจชอบคนกิน จริง ๆ

ปลา ตะเพียนต้มเค็มที่บ้านไม่กินเนื้อเปื่อยยุ่ย ตรงกันข้ามเราชอบกินเนื้อแข็ง ๆ ได้จากการต้มปลาตะเพียนต้มเค็มนานหลายชั่วโมง เราจะกินกันวันที่สองสำหรับคนที่อดใจไม่อยู่ แต่ตัวพลอยโพยมชอบกินวันที่สามสี่ ห้า... เราต้มเค็มด้วยรสหวานเค็มเพียงสองอย่างเท่านั้น วันแรกก็ต้มไฟแรงก่อน ใส่น้ำประมาณว่าท่วมตัวปลาอย่างเผื่อไว้เยอะ ๆ (ต้มน้ำเดือดเต็มที่ก่อนจึงใส่ปลาลงไปในหม้อ) จนปลาสุกดี ใส่น้ำปลาและน้ำตาลทรายแล้วราไฟเหลือแค่เดือดปุด ๆ ช้า ๆ ชิมรสว่าถูกใจคนทำและสมาชิกในบ้านดีแล้ว ต้มต่อจนน้ำงวดท่วมหลังตัวปลาขลุกขลิก พักยกที่หนึ่งของวันแรกเพียงแค่นี้ วันที่สองใช้ไฟอ่อนต้มต่อให้น้ำงวดลงไปอีก ใครอยากกินก็ตักไปกินก่อน มีอ้อยยก็ใส่อ้อยรองก้นหม้อ ไม่มีก็ไม่ต้องใส่ให้ต้องเดือดร้อนใจไปหามา เพราะเราใส่น้ำไว้เยอะพอที่จะไม่มีการติดก้นหม้ออยู่แล้ว และเราก็ใช้น้ำตาลทรายที่ทำมาจากอ้อยอยู่แล้วไม่ได้ใช้น้ำตาลปี๊บ

พอ วันที่สามที่สี่ปลาตัวที่อยู่ข้างล่างหลังจากมีคนตักปลาตัวบนออกไปกินก่อน หน้าแล้ว เนื้อปลาก็ชุ่มอาบอิ่มด้วยน้ำที่ปรุงรส หลังจากเอามาต้มอุ่นเนื้อปลาตัวบนจะถูกไฟร้อนแผดเผาเนื้อ เนื้อปลาจะแห้งและค่อนข้างแข็ง เพราะน้ำปรุงรสที่เข้าไปอยู่ในเนื้อปลาถูกไล่เอาน้ำออกไปอีก ส่วนปลาตัวล่างที่ยังพอมีน้ำชุ่มก็ซึมน้ำปรุงเข้าไปอีก พอวันถัดมาก็จะกลายมาเป็นปลาตัวบนสุด
ปลาต้มเค็มบ้านพลอยโพยมหม้อใหญ่ และกินได้เป็นสัปดาห์ด้วยวิธีนี้ยิ่งวันท้าย ๆ เนื้อปลาก็จะแข็งและรสชาติเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนหมดตัวสุดท้ายของหม้อ ตัวนี้ก็จะอร่อยที่สุด การอุ่นเดือดใช้วิธียกหูหิ้วหม้อขยับซ้ายขวาไม่ให้เนื้อปลาติดก้นหม้อและ ไหม้

ส่วนก้างปลานั้น ก้างปลาตะเพียนจะมีลักษณะเป็น ตัว Y ถึงจะมีมากมายแต่ก็เอาออกได้ไม่ยาก ยิ่งกินปลาตัวใหญ่ก็ยิ่งก้างใหญ่และยาวตามไปด้วย น่าจะกินง่ายกว่า ปลาหมอ หรือปลาอื่น ๆ ที่มีก้างเยอะ แต่เมื่อไม่ได้ทำให้ก้างยุ่ย ก็ต้องระมัดระวังที่จะกินปลาตะเพียนต้มเค็มให้ปลอดภัย ตรงที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ คือท้องปลาหรือพุงปลาเพราะก้างใหญ่แข็งมากเห็นชัดดึงออกง่ายไม่มีก้างเล็ก ๆ รวมทั้งบริเวณส่วนกลางลำตัวเป็นก้างตัว y แต่ ชิ้นใหญ่ ที่บริเวณคอปลาลงมาถึงพุงมีก้างเล็กปนอยู่มากกว่ากลางลำตัวแต่เนื้อปลาจะ แข็งอร่อยกว่าส่วนหางปลา ที่อันตรายของเด็ก ๆ คือหางปลาเพราะมีก้างเล็กมากกว่าส่วนอื่นและเนื้อปลาไม่ค่อยแข็ง

เป็นเมนูเดียวที่บ้านของพลอยโพยมในการกินปลาตะเพียน

เกล็ด ปลาตะเพียนจะบางและใส ยิ่งปลาตะเพียนตัวใหญ่ เกล็ดก็จะใหญ่ตามไปด้วย สมัยเด็ก ๆ จึงมีวิชางานประดิษฐ์เอาเกล็ดปลาตะเพียนไปย้อมสีต่าง ๆ ประดิษฐ์เป็นดอกไม้เกล็ดปลา ส่งคุณครู

เด็ก ๆ ต้องระวังเกล็ดปลาที่บางนี้ ถ้าเด็กไม่ระวังเกล็ดปลาติดที่ผิวเนื้อหลาย ๆ วัน เกล็ดปลาจะแนบกับเนื้อมาก เอาออกยาก


ปลาตะเพียนขาวมีขายในตลาดเช้า
โดยการใส่นำแข็งโรยบนตัวปลาไว้ สาย ๆ ก็ขายหมดแล้วทุกวัน

ปลา ในวงศ์ปลาตะเพียน นอกจากปลาตะเพียนขาว (ตะเพียนเงิน) ปลาตะเพียนทอง ปลากระแห (กระแหทอง) แล้ว ยังมีปลากระมัง ปลากระสูบขีด ปลาแก้มช้ำ ปลาตะพาก ปลาตะเพียนทราย ปลาตะโกก ปลาบ้า (ปลาพวง) ปลาหนามหลัง ปลาหางไหม้

ยังมีปลาชื่อปลาตะเพียนน้ำเค็มอีกชนิด พลอยโพยมไม่แน่ใจว่าเป็นปลาวงศ์ปลาตะเพียนหรือไม่ หรือเพียงมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนน้ำจืด พบในน้ำกร่อยจึงเรียกชื่อเป็นปลาตะเพียนน้ำเค็ม
ข้อมูลปลาตะเพียนน้ำเค็มมีดังนี้

ชื่อสามัญ ตะเพียนน้ำเค็ม มักคา โคก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ CHACUNDA GIZZARD-SHAD
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anodontostoma chacunda

ลักษณะทั่วไป

เป็น ปลาน้ำกร่อยที่มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนน้ำจืด ลำตัวป้อมสั้นจะงอยปากสั้นทู่ตามีเยื่อไขมันหุ้ม ปากเล็ก ท้องแบนเป็นสันคมซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนรูปของเกล็ดไปทำหน้าที่ในการ ป้องกันตัว ครีบหางเว้าลึก ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านหลังมีสีดำปนเทา ทางด้านท้องสีขาวเงิน หลังช่องเปิดเหงือกมีจุดสีดำข้างละจุด

ถิ่นอาศัย-อยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นหน้าดินตามชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร-กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อย
ขนาด-ความยาวประมาณ 14-20 ซ.ม.
ประโยชน์-เนื้อมีรสอร่อยแต่มีก้างฝอยมาก

พลอยโพยมไม่เคยพบปลาชนิดนี้

ที่มาของข้อมูล กรมประมง และวิกิพีเดีย


หมายเหตุ

พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
จากคำให้การขุนหลวงหาวัดว่าเป็นพระที่นั่งกลางสระ มีทางให้น้ำออกน้ำเข้าเชื่อมกับคลองท่อ ปล่อยลงสู่แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือของวัง

พระ ที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์นี้ เป็นที่ทรงโปรดของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ อันเป็นที่มาของพระนาม เนื่องจากทรงโปรดการประพาสตกปลาตะเพียน และเสวยปลาชนิดนี้เป็นประจำ


ที่มาของข้อมูล http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=patisonii&date=09-11-2010&group=12&gblog=1

ปลาตะเพียนขาว

 ชื่อ ปลาตะเพียนขาว

 http://www.nectec.or.th/oncc/province/pictures/e18/udont2-707-1-2.jpg

ชื่อ ปลาตะเพียนขาว
ชื่อสามัญ Common silver barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pontius gonionotus
ลักษณะทั่วไป
ปลาตะเพียนมีลำตัวค่อนข้างป้อมแบน เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กจะอยู่หน้าสุด ลักษณะจะแตกต่างจากปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ ปลาตะเพียนขาวมีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่จำนวน 6 ก้าน ชนิดอื่น ๆ มี 5 ก้าน สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวเงินครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ครีบอื่น ๆ สีซีดจาง ลักษณะเป็นปลาปราดเปรียว ว่ายน้ำได้เร็ว เมื่อตกใจจะกระโดดได้สูงมาก อาหารที่ชอบกินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้า โดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร้น้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย แพงค์ตอน ไรน้ำ เป็นต้น มีขนาดความยาวของลำต้นประมาณ 8-36 เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
พบตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ห้วย หนอง คลอง บึง ในจังหวัดอุดรธานี
ความสัมพันธ์กับชุมชน
เนื้อปลานิยมนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ปลาส้ม ปลาเจ่า ปลาร้า ปลานึ่ง ปลาต้มหรือลาบ ปลารมควัน หรือทำเป็นปลาตากแห้งไว้กินนาน ๆ ได้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เลี้ยงได้ทุกฤดูกาล
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
เป็นปลาที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวไม่น้อยและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง
                                               

ชื่อไทย : ตะเพียนทอง,  ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ, ลำปำ
ชื่อสามัญ : Red – tailed, Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์Barbonymus altus (Gunther,1868)
ลักษณะทั่วไป             เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบเป็นสีดำ ครีบหางเป็นเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง
            มีรูปร่างคล้ายปลากระแห แต่มีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบสีดำมีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
           ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง 
อาหาร          พืชน้ำ สาหร่ายขนาดเล็ก แมลง และสัตว์น้ำประเภทกุ้ง
พฤติกรรม         มีความว่องไวและปราดเปรียว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ

เลี้ยงปลาตะเพียนขาว' เลี้ยงไม่ยากมีกินตลอด อยู่ได้ด้วยตัวเอง

เลี้ยงปลาตะเพียนขาว' เลี้ยงไม่ยากมีกินตลอด อยู่ได้ด้วยตัวเอง


 


ปลา ที่เรียกกันว่า “ตะเพียน” บางคนได้ยินชื่ออาจจะออกอาการขยาดเพราะปลาชนิดนี้ก้างเยอะมาก แต่บางคนที่ทำเป็นเขาทำให้ก้างอ่อนตัวลง คนรับประทานไม่ต้องกลัวก้างเพราะสามารถรับประทานได้ทั้งก้าง ไม่ต้องกลัวว่าจะปักคอ

ปลาตะเพียน ชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ ปลาตะเพียนขาว (นอกจากตะเพียนขาวแล้วยังมีตะเพียนชนิดอื่นอีก เช่น ตะเพียนหางแดง เป็นต้น) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

 ข้อมูลจากกรมประมงระบุว่า แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.
 
การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อ นั้น บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

การเตรียมบ่อ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร หากเป็นบ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดี ขึ้น ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊น   ให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว

แม้ไม่ใช่การปลูกพืชแต่การเลี้ยงปลา ตะเพียนต้องใส่ปุ๋ย เพื่ออะไร ที่ใส่ปุ๋ยก็เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น ปุ๋ยที่ว่านั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน

ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า “ผำ”) ใช้โปรยให้กินสด ๆ เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อ การให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ลูกปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม

คงไม่ยากหากจะ เลี้ยง หากอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ไปขอได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมประมง ขอเอกสารคำแนะนำในการเลี้ยงปลาต่าง ๆ มีให้เลือกด้วย หรืออาจเข้าไปดูที่ nicaonline.com ก็ย่อมได้เช่นกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 22 เมษายน 2551

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=161435&NewsType=1&Template=1

Wednesday, October 17, 2012

ปลา ตะเพียนหน้าแดง (Line Puntius)

ปลาตะเพียนหน้าแดง
 

ปลา ตะเพียนหน้าแดง (Line Puntius)
 
ปลาตะเพียนหน้าแดงมี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntius denisonii และมี ชื่อสามัญว่า Red Line Puntius ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่จะต้องนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ปลาตะเพียนหน้าแดงนี้เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำต่างๆได้ ถ้ามีการพักปลาหลังจากนำเข้ามาแล้ว และยังเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งอาหารที่มีชีวิตและอาหารสำเร็จรูป ซึ่ง
 
ลักษณะภายนอกของปลาชนิดนี้คือ ลำตัวคล้ายกับปลาตะเพียน แต่จะออกทรงยาวคล้ายซิวหางกรรไกร มีขีดสีดำตามยาวของลำตัวตั้งแต่ปากผ่านตาไปจนถึงโคนหาง จุดเด่นของมันก็คือ มีขีดสีแดงขนาดใหญ่อยู่เหนือเส้นสีดำ โดยขีดสีแดงนี้ เริ่มตั้งแต่ปากไปจนถึงกลางลำตัวเป็นสีแดงสดชัดเจนมาก และกระโดงของมันยังมีสีแดงอีกด้วย ลำตัวของมันจะออกสีเงินๆ ส่วนปลายหางจะมีแถบสีเหลืองและดำอยู่ตรงปลาย ทำให้ดูลายสวยงามไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ามีสีสันสดดูน่ามอง 
 
ปลาชนิดนี้มี 2 สายพันธุ์ ซึ่งคล้ายกันโดยจะเรียกชื่อต่างกันคือ ปลาชนิดที่มีหัวสีแดง และ นำเข้ามาตั้งแต่แรก เรียกว่า Red Nose และปลาชนิดหลังที่เพิ่งมีการนำเข้ามามากโดยมีพื้นที่มีแดงมากกว่านั้น เรียกว่า Red Line ปลาทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ สามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่มี pH กลางๆ และเนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ทำลายหรือกินต้นไม้น้ำ จึงเหมาะแก่การเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำ ซึ่งจะเป็นการตัดกันของสีที่เหมาะสมมาก ระหว่างสีแดงของปลาและฉากหลังสีเขียวของต้นไม้น้ำ ทำให้ปลาดูโดดเด่นเวลาว่ายน้ำเป็นฝูง แม้ว่าปลาชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตนั้นไม่เร็วมากนัก หากควบคุมปริมาณการให้อาหาร แล้วมีความเป็นไปได้สูงที่ปลาจะคงขนาดเล็กได้เป็นระยะเวลานาน โดยหากเลี้ยงไว้ประมาณ 5-10 ตัว เมื่อมันว่ายน้ำเป็นกลุ่มเป็นฝูงแล้ว จะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของปลาชนิดนี้ ซึ่งอยากให้ทุกท่านได้ชื่นชมความสวยงามของปลาชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง