Thursday, October 11, 2012

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว





   ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัด เลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
   การ เพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธี เลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน


แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย



ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตรา อินเดียปากีสถานและยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ




อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ



1. ความเป็นอยู่ 

ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส 

2. นิสัยการกินอาหาร 

2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว 

2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน 

3. การแยกเพศ

ลักษณะ ภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ



เลี้ยงปลาตะเพียนขาว


                                         ปลาตะพากลักษณะคล้ายปลาตะเพียน
ปลา ตะเพียน ชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ ปลาตะเพียนขาว (นอกจากตะเพียนขาวแล้วยังมีตะเพียนชนิดอื่นอีก เช่น ตะเพียนหางแดง เป็นต้น) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

    ข้อมูล จากกรมประมงระบุว่า แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.
      การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อนั้น บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

   
การ เตรียมบ่อ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร หากเป็นบ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดี ขึ้น ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊น   ให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว




แม้ ไม่ใช่การปลูกพืชแต่การเลี้ยงปลาตะเพียนต้องใส่ปุ๋ย เพื่ออะไร ที่ใส่ปุ๋ยก็เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น ปุ๋ยที่ว่านั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน



   ปลา ที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า “ผำ”) ใช้โปรยให้กินสด ๆ เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อ การให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
    ลูก ปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม


ปลาตะเพียนขาว นัก ตกปลาทั่วไปคงใช้ รำข้าว ขนมปังปั่น ผสมน้ำตก แต่ที่ตกกันยังมีอีกสองอย่างที่เป็นเหยื่อตกคือ ผักชี และอีกหย่างที่นักตกปลาอาชีพใช้คือต้นหญ้าขนจะเป็นพุ่มกอความสูงเมื่อโต ประมาณ 1ฟุตกว่าๆ
เทคนิคการตกตะเพียนขาว  อย่าง ที่คลองดำเนินสะดวกหรือคลองทั่วๆไป ผูกเบ็ดแล้วใส่ทุ่นลอยครับเกี่ยวผักชีทุ่นที่ใช้กันเลยในอดีตก็ก้านต้นปอ ครับตอนนี้ใช้โฟมดีที่สุดหาง่ายทำเป็นท่อนกลมยาวประมาณ 2 นิ้ว ความลึกของทุ่นไม่เกิน 1 ฟุต เวลาปลาเข้ากินก็สังเกตุทุ่นพอทุ่นจมตวัดคันได้เลยแล้วทีนี้ก็มาถึงพราน อาชีพใช้ต้นหญ้าขนจะงามมากๆตอนหน้าฝน ซึ่งก็ตรงกับช่วงที่เหมาะจะตกปลาตะเพียนขาว ผูกติดกับไม้ไผ่เล็กๆหรือต้นอ้อก็ได้โดยผูกมัดเป็นกำใหญ่หน่อยเวลาผูกเอาทาง ด้านยอดของต้นหญ้าหันลงก้นคลอง 45 องศา แล้วปักลงตงชายกอหญ้าริมคลองหรือกอผักตบชวา ให้หญ้าที่อ่อยจมน้ำลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมงถ้ามีตัวปลาจะเริ่มเข้ามากินให้ดูจากการโยกของไม้ไผ่หรือต้นอ้อ ใช้ต้นหญ้าต้นเล็กๆหรือยอดอ่อนมาเกี่ยวเบ็ดวางทุ่นลึกประมาณ 1 ฟุต หย่อนลงใกล้ๆกับเหยื่อล่อ พอทุ่นจมก็ตวัดเบ็ดได้เลยพรานอาชีพจะอ่อยเหยื่อ 2 ที่แล้วเปลี่ยนสลับตกไปเรื่อยๆโดยอ่อยไม่ห่างกันมากนักในอดีตใช้เรือพายตกนะ ครับปัจจุบันก็ยังมีตกอยู่แต่น้อยคนลง เพราะพรานปลาอาชีพก็น้อยลงตอนนี้เป็นตาข่ายครับดักเลยแต่มันก็คนละอารมณ์กัน พรานอาชีพในที่นี้ก็คนที่เป็นช่วงว่างจากการทำสวนหรือรับจ้างถ้าเป็นปลาตัว ใหญ่ๆเมื่อติดเบ็ดแล้วต้องลากเข้ามาใกล้ๆเรือแล้วช้อนขึ้นมาแต่เป็นตัวเล็กๆ ตวัดเบ็ดก็ลอยขึ้นเรือเลย


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:



http://www.fisheries.go.th

http://www.fishing108.com

0 comments:

Post a Comment