Wednesday, October 17, 2012

ปลา ตะเพียนหน้าแดง (Line Puntius)

ปลาตะเพียนหน้าแดง
 

ปลา ตะเพียนหน้าแดง (Line Puntius)
 
ปลาตะเพียนหน้าแดงมี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntius denisonii และมี ชื่อสามัญว่า Red Line Puntius ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่จะต้องนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ปลาตะเพียนหน้าแดงนี้เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำต่างๆได้ ถ้ามีการพักปลาหลังจากนำเข้ามาแล้ว และยังเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งอาหารที่มีชีวิตและอาหารสำเร็จรูป ซึ่ง
 
ลักษณะภายนอกของปลาชนิดนี้คือ ลำตัวคล้ายกับปลาตะเพียน แต่จะออกทรงยาวคล้ายซิวหางกรรไกร มีขีดสีดำตามยาวของลำตัวตั้งแต่ปากผ่านตาไปจนถึงโคนหาง จุดเด่นของมันก็คือ มีขีดสีแดงขนาดใหญ่อยู่เหนือเส้นสีดำ โดยขีดสีแดงนี้ เริ่มตั้งแต่ปากไปจนถึงกลางลำตัวเป็นสีแดงสดชัดเจนมาก และกระโดงของมันยังมีสีแดงอีกด้วย ลำตัวของมันจะออกสีเงินๆ ส่วนปลายหางจะมีแถบสีเหลืองและดำอยู่ตรงปลาย ทำให้ดูลายสวยงามไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ามีสีสันสดดูน่ามอง 
 
ปลาชนิดนี้มี 2 สายพันธุ์ ซึ่งคล้ายกันโดยจะเรียกชื่อต่างกันคือ ปลาชนิดที่มีหัวสีแดง และ นำเข้ามาตั้งแต่แรก เรียกว่า Red Nose และปลาชนิดหลังที่เพิ่งมีการนำเข้ามามากโดยมีพื้นที่มีแดงมากกว่านั้น เรียกว่า Red Line ปลาทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ สามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่มี pH กลางๆ และเนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ทำลายหรือกินต้นไม้น้ำ จึงเหมาะแก่การเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำ ซึ่งจะเป็นการตัดกันของสีที่เหมาะสมมาก ระหว่างสีแดงของปลาและฉากหลังสีเขียวของต้นไม้น้ำ ทำให้ปลาดูโดดเด่นเวลาว่ายน้ำเป็นฝูง แม้ว่าปลาชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตนั้นไม่เร็วมากนัก หากควบคุมปริมาณการให้อาหาร แล้วมีความเป็นไปได้สูงที่ปลาจะคงขนาดเล็กได้เป็นระยะเวลานาน โดยหากเลี้ยงไว้ประมาณ 5-10 ตัว เมื่อมันว่ายน้ำเป็นกลุ่มเป็นฝูงแล้ว จะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของปลาชนิดนี้ ซึ่งอยากให้ทุกท่านได้ชื่นชมความสวยงามของปลาชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง

ปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนทราย
จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด

ชื่อไทย ตะเพียนทราย
ชื่อสามัญ GOLDEN LITTLE BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius brevis
ถิ่นอาศัย พบทั่วไปในแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่งตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก รูปร่างและสีสันคล้ายปลาตะเพียนขาวที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโตอยู่ใกล้กับจมูก ปากเล็กอยู่ปลายสุดมีหนวดเล็กและสั้น 2 คู่ อยู่ที่ริมปากบนและมุมปาก เกล็ดกลมมน สีของสันหลังเป็นสีเทาปนดำ ข้างลำตัวสีส้มจาง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสีเหลืองจาง ขึ้นอยู่กับสภาพสีของน้ำและสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ ท้องสีขาวเงินครีบหลังสีเทาอ่อน มีแถบสีดำจางหนึ่งแถบพาดตามความยาวของครีบ ปลายแฉกบนครีบหางมีแถบดำจาง ๆ
การสืบพันธุ์ -
อาหารธรรมชาติ กินต้นอ่อนของพืช แมลงน้ำ ลูกน้ำ ไรน้ำ
สถานภาพ เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
   
 
ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

การเลี้ยงปลาตะเพียนหางแดง (ปลากระแห)

การเลี้ยงปลาตะเพียนหางแดง (ปลากระแห)


พบอาศัยอยู่ เป็นฝูงในแม่น้ำ ลำคลอง และ หนอง บึงทุกภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมนุษย์ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
งานพิธีมงคลต่างๆ…มักจะมีกิจกรรม ปล่อยปลาสายพันธุ์ไทย…ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับแม่น้ำลำคลองของบ้านเรา…

โดยปลาสายพันธุ์หนึ่งที่มักจะนำมาใช้ในพิธีการนี้ นั่นคือ ปลากระแห ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด สายพันธุ์ไทยแท้ มีชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น “กระแหทอง” หรือ “ตะเพียนหางแดง” ในภาษาอีสานเรียก “ลำปํา” ในภาษาใต้เรียก “เลียนไฟ” ภาษาเหนือเรียก “ปก” ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ลักษณะทั่วไปรูปร่างคล้าย…ปลาตะเพียนทอง แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก จะงอยปากสั้นทู่ ปากมีขนาดเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่นๆมีสีส้มสด ยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำ ลำคลอง และ หนอง บึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามบริเวณหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่างๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน ปลาแก้มช้ำ หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

อาหารของปลากระแห มักชอบกิน พันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย พฤติกรรม ชอบรักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา ปัจจุบันมนุษย์ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร สังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการศึกษา…การอนุบาล ลูกปลากระแหวัยอ่อนในบ่อดิน ด้วยการใช้อาหารเม็ดผสมระหว่างรำข้าวกับปลาป่น ด้วยวัยเพียง 5 วัน ความยาวตัวเฉลี่ย 0.40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 0.28 มิลลิกรัม ผลสรุปพบว่า การอนุบาลตั้งแต่อายุ 5 วัน ไปจนถึงขนาดลำตัว 5 เซนติเมตร ในบ่อดินขนาดประมาณ 800 ตารางเมตร ควรมีความหนาแน่นของลูกปลากระแหประมาณ 200 ตัวต่อตารางเมตร
อีกทั้งลักษณะที่มีสีตามครีบเป็นที่โดดเด่น กลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงาม จึงทดลองเลี้ยงเป็น ปลาตู้ ปรากฏว่า สามารถเลี้ยงได้ดีทั้งยังมีสีสันที่สวยงามอีกด้วย นักวิจัยด้านอาหารสัตว์น้ำ จึงทดลองศึกษาผลของแอสตาแซนทินในอาหารต่อสีของปลากระแห โดยเลี้ยงปลากระแหขนาด 3-4 เซนติเมตร ด้วยอาหาร เม็ดสูตรพื้นฐานเสริมแอสตาแซนทินที่ระดับ 25, 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า การเสริมแอสตาแซนทินในอาหารมีผลทำให้สีครีบหางของปลากระแหมีสีแดงมากขึ้น
และเมื่อหยุดเสริมแอสตาแซนทินครีบหางปลาจะมีสีแดงจางลงเท่ากับที่ไม่ได้ เสริมในระยะเวลา 21, 28, 50 และ 75 วัน อีกทั้ง แอสตาแซนทินไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต หรือ อัตราแลกเนื้อ และ อัตรารอดชีวิตของปลากระแหแต่อย่างใด
ผู้สนใจข้อมูลอย่างละเอียดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมประมง 0-2562-0569 ในเวลาราชการ.


ไชยรัตน์ ส้มฉุน

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาตะเพียน

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาตะเพียน
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาตะเพียน


ปลาตะเพียนขาว หรือที่เรียกติดปากกันสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน ชื่อวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Puntius gonionotus เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทั่วไปในแถบประเทศอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และศรีลังกา
สำหรับในประเทศไทยนั้น หากจะค้นไปถึงว่าปลานี้ประชาชนเริ่มรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยไหน เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้มีอยู่คู่กับแม่น้ำ ลำคลอง ในแถบภูมิภาคส่วนนี้นานหนักหนาแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรืออาจจะก่อนกว่านั้น เพราะมีลายของถ้วยชามเครื่องเคลือบปรากฎเป็นรูปปลาตะเพียนให้เห็นอยู่กลาด เกลื่อนแต่ชื่อ "ตะเพียน" ที่ใช้เรียกขานกัน เพิ่งจะมาพบเป็นหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดารฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่าสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวยปลาตะเพียน ถึงกับตั้งกำหนดโทษแก่คนที่กินปลาตะเพียนว่า จะต้องถูกปรับถึง 5 ตำลึง และในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้พรรณนาถึงฝูงปลามีความว่า เทโพและเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร
อ้ายบ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราหมณ์
เทโพพาพวกพ้อง เทพา
ปลาตะเพียนปลากาพา คู่เคี้ย
สลุมพอนอ้ายบ้าปลา หลายหมู่
ปลาผักพร้าม้าเพรี้ย ว่ายไหล้หนวดพราหมณ์
นับว่า ปลาตะเพียน หรือตะเพียนขาว เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้

รูปร่างลักษณะและนิสัย
ปลาตะเพียนขาว มีลักษณะลำตัวแบนข้าง ขอบหลังโค้งยกสูงขึ้น หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็ก ๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 29-31 เกล็ดลำตัวมีสีเงิน บริเวณส่วนหลังมีสีคล้ำส่วนท้องเป็นสีขาวนวล ปลาตะเพียนขาวซึ่งมีขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีลำตัวยาวที่สุดเกือบ 50 ซม.ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาน้ำจืด อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายsพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์
ลักษณะเพศ ลักษณะภายนอกของปลาตะเพียนขาวตัวผู้ และตัวเมีย คล้ายคลึงกันมาก แต่เมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้น คือตัวเมียจะมีท้องอูมเป่ง พื้นท้องนิ่มและช่องเพศกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบน พื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบา ๆ ตรงบริเวณท้อง จะมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาฤดูวางไข่ ปลาตะเพียนขาว จะวางไข่ราว ๆ ปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ฝนเริ่มตก หลังจากที่ฝนตกหนักเพียง 2-3 ครั้ง ปลาก็จะวางไข่จนหมด ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 8-12 ชั่วโมง ในอุณหภูมิของน้ำประมาณ 29-30 องศาเซลเซียส
แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.

การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อ

1. บ่อ บ่อเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ควรมี 3 ชนิดคือ
ก. บ่อผสมพันธุ์ ควรเป็นบ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร หรือบ่อซีเมนต์ขนาด 10 ตารางเมตร มีน้ำถ่ายเทเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา
ข. บ่ออนุบาล ควรเป็นบ่อดินที่เตรียมไว้สะอาดแล้ว ขนาด 200-400 ตารางเมตร ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร มีการถ่ายเทน้ำได้พอสมควร ใช้เลี้ยงลูกปลาตะเพียนขาว ซึ่งมีอายุได้ประมาณ 15 วัน จนลูกปลามีขนาดความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ระยะอนุบาลลูกปลาดังกล่าวนี้ควรปล่อยลูกปลาในอัตรา 15 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร หรือประมาณ 25,000 ตัวต่อไร่
ค. บ่อเลี้ยง ควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

2. การเตรียมบ่อ
ก. บ่อใหม่ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลเมตร ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
ข. บ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดี ขึ้นก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโดปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว
ค. การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน

การเตรียมการผสมพันธุ์ปลาตะเพียนขาว


1. การคัดเลือกพ่อแม่ปลา ปลาที่มีลักษณะพร้อมที่จะทำการขยายพันธุ์ได้ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. ปลาตัวผู้ เป็นปลาที่มีลักษณะสมบูรณ์ ไม่ช้ำ ไม่มีบาดแผลตามตัว เมื่อเอามือบีบตรงบริเวณท้องเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวข้นไหลออกมา
ข. ปลาตัวเมีย เป็นปลาที่มีลักษณะท้องอูม บริเวณส่วนท้องจะมีขนาดกว้างกว่าปลาตัวผู้ เมื่อเอามือจับจะรู้สึกนิ่ม หากมองจากด้านหลังของตัวปลา จะเห็นท้องยื่นออกมาทางด้านข้างทั้งสองด้าน ช่องเพศมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีแดงเข้ม

2. การเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาว มีดังต่อไปนี้
ก. กรงลวดตาข่ายขนาด 50x120x70 ซม. ใช้สำหรับขังพ่อแม่ปลา เพื่อให้ผสมพันธุ์ในกรงนี้
ข. กระชังผ้าขาวไนลอนแก้ว กว้าง 100 ซม. ยาว 120 ซม. และลึก 90 ซม. ใช้สำหรับรองรับไข่ที่ผ่านจากกรงลวดตาข่าย
ค. กระชังไม้เนื้อแข็งหรือไม่ไผ่ กว้าง 2 ม. ยาว 4 ม. ลึก 1.5 ม.
ง. สวิงใช้สำหรับจับปลา

บ่อผสมพันธุ์ปลา
บ่อดินขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตร หรือบ่อซีเมนต์ขนาด 10 ตารางเมตร ถ้ามีน้ำถ่ายเทเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลาก็จะดี นำกรงลวดไปลอยไว้ในน้ำ ให้กรงอยู่เหนือผิวน้ำ ประมาณ 20 ซม. กรงลวดนี้ลอยน้ำอยู่ในกระชังผ้าไนลอนแก้ว ก้นของกรงลวดอยู่เหนือก้นกระชังประมาณ 20 ซม. ทั้งกรงลวดและกระชังผ้าในลอนแก้วนี้จะอยู่ในกระชังไม้ ซึ่งมีขนาดตากระชังห่างประมาณ 1 ซม. เพื่อกันมิให้ปลาปักเป้าหรือปูมาทำลายกระชังผ้าไนลอนแก้ว ซึ่งหุ้มไข่ปลาอยู่

วิธีการเพาะขยายพันธุ์

หลังจากคัดเลือกพ่อ-แม่ปลาได้แล้ว นำพ่อ-แม่ปลาไปปล่อยไว้ในกรงลวด ในอัตราตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว หรือตัวเมีย 3 ตัวต่อตัวผู้ 5 ตัว กรงลวดแต่ละกรงนั้นควรปล่อยแม่ปลาประมาณ 5-10 ตัว การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ต้องทำในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายนเพราะเป็นช่วงฤดูวางไข่ผสมพันธุ์ของปลาตะเพียนขาวเมื่อ พ่อ-แม่ปลาเริ่มรัดหรือผสมพันธุ์กันแล้ว ประมาณ 2 ชั่วโมงแม่ปลาก็จะออกไข่หมด เมื่อยก กรงลวดออกจากกระชังผ้าไนลอนแก้ว (พ่อ-แม่ปลาติดออกมาด้วย) จะพบว่ามีไข่ปลาจมอยู่ที่ก้นกระชังผ้าเป็นจำนวนมาก ควรแยกไข่ปลาไปฟักในกระชังผ้าใบอื่น เพื่อไม่ให้ไข่ทับถมกันจนแน่นเกินไป ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา8-12 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูง จะทำให้ไข่ฟักออกเป็นตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
ถ้าหากไม่สามารถหากรงลวดและกระชังไนลอนได้ เราก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวในบ่อผสมพันธุ์ได้เลย (บ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร บ่อซีเมนต์ 10 ตารางเมตร) ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ 10 ตารางเมตร ใช้พ่อ-แม่ปลาในอัตราส่วน ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว เตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์โดยการเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณครึ่งบ่อ การปล่อยพ่อแม่ปลาที่คัดไว้แล้วลงในบ่อ ควรปล่อยในตอนเย็น หลังจากนั้นก็ปล่อยน้ำให้ไหลลงบ่อตลอดเวลา พ่อ-แม่ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาประมาณ 04.00-05.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ในขณะที่ปลาตะเพียนกำลังผสมพันธุ์และวางไข่นั้น ปลาจะส่งเสียงร้องอุด ๆ ตลอดเวลาและจะไล่เคล้าเคลียกันเป็นฝูงในวันรุ่งขึ้น ต้องจับพ่อ-แม่ปลาขึ้นจากบ่อ ทิ้งให้ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วฟักเป็นตัวภายในบ่อ และเมื่อลูกปลามีอายุได้ประมาณ 15 วัน ต้องนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลต่อไป (วิธีนี้เราจะได้ลูกปลาจำนวนไม่แน่นอน คืออัตราการอดของลูกปลามีน้อย)
การอนุบาลลูกปลาตะเพียนในกระชังผ้าไนลอนแก้ว ในระยะแรกประมาณ 3-5 วันนั้น นับว่าเป็นวิธีที่ดี เพราะสามารถดูแลได้ใกล้ชิดกว่าปล่อยไว้ในบ่อดิน เพราะถ้าผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลปลาได้ใกล้ชิดแล้วจะไม่รู้ว่าลูกปลาที่กำลัง อนุบาลอยู่นั้นเหลือน้อยเพียงใด อีกประการหนึ่งการอนุบาลลูกปลาในกระชังผ้าดังกล่าว สามารถมองเห็นลูกปลาได้ถนัดตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงบริเวณก้นกระชัง ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าลูกปลาตายมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหาวิธีแก้ไขได้สะดวก ทั้งยังสามารถคะเนปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งได้ด้วย ว่ามีประมาณมากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด

การอนุบาลลูกปลา

1. ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวในระยะแรกจะมีถึงไข่ติดอยู่ ไม่ต้องให้อาหาร
2. ลูกปลาซึ่งมีอายุระหว่าง 3-5 วัน ควรให้อาหารพวกไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดงมาละลายน้ำให้ลูกปลากินเป็นอาหาร วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น
3. หลังจากนั้นแล้ว ควรนำไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล ขนาด 200-400 ตารางเมตร หรือบ่อที่มีน้ำที่มากกว่านี้ก็ได้หากต้องการทำเป็นการค้าน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร บ่ออนุบาล
ดังกล่าวนี้ใช้เลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนจนโตขนาดลำตัวยาว 5-7 เซนติเมตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปลาระยะนี้ ประกอบด้วย ปลาป่น กากถั่ว รำ ในอัตราส่วน ปลาป่น 1 ส่วน กากถั่ว 1 ส่วน และรำ 2 ส่วน การให้อาหารควรใช้วิธีโรยให้ทั่วบ่อ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในระยะแรก ๆ ของการปล่อยลูกปลาจะไม่เห็นลูกปลาขึ้นมากิน แต่หลังจากปล่อยไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกปลาจะโตขึ้นจนเห็นได้ชัด ขณะที่ลอยตัวขึ้นมากินอาหารที่โรยไว้เมื่อลูกปลามีขนาดความยาวประมาณ 5-7 ซม. ต้องย้ายลูกปลาเหล่านี้ลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยง (บ่อดินขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่) ปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อหนึ่งตารางเมตร

การเลี้ยงปลาใหญ่

ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่
- แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคู เม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า "ผัม") ใช้โปรยให้กินสด ๆ
- เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก
- กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ
- ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อการให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

การเจริญเติบโต

ลูกปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม

ศัตรูและโรคพยาธิ

ศัตรูของปลาตะเพียนขาว ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก พวกกบ เขียด งู ฯลฯการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ต้องคอยระวังอย่าให้ปลาในบ่อมีปริมาณแน่นจนเกินไปหรือไม่ได้มีการถ่ายเทน้ำ เพราะจะทำให้เกิดเห็บปลาและหนอนสมอ อันเป็นพยาธิของปลา ซึ่งจะเกาะอยู่ตามกระพุ้งแก้มและตามลำตัวของปลา และอาจเป็นโรคอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรี จะทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร หรืออาจถึงตายได้
ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ การลักขโมยซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ใช้ข่าย แห เบ็ด ลอบ ทำให้นักเลี้ยงปลาประสบการขาดทุนมามากรายแล้วผู้เลี้ยงควรติดตามแก้ไขอย่าง ใกล้ชิดด้วย


ที่มา sangputsorn.com

ปลาตะเพียนเงิน

แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย

 
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตราอินเดียปากีสถานและยัง มีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ

อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ
1. ความเป็นอยู่
ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส

2. นิสัยการกินอาหาร

2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว
2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน

3. การแยกเพศ
ลักษณะ ภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ

              ตะเพียน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus (เดิม Puntius หรือ Barbodes gonionotus) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน
ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บอร์เนียว อินโดนีเซีย
 แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 ซ.ม.
พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช แมลง สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้
ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น " ตะเพียนขาว " หรือ " ตะเพียนเงิน " ภาคอีสานเรียกว่า " ปาก "

http://images.google.co.th/imgres?imgurl
http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/
http://th.wikipedia.org/wiki

Thursday, October 11, 2012

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว
 
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็น ปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัด เลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนิน การเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธี เลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน
แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตราอินเดียปากีสถานและยังมีชุกชุมใน ถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ

อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ

1. ความเป็นอยู่
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส
2. นิสัยการกินอาหาร
2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว
2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
3. การแยกเพศ
ลักษณะภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะปลาตัวผู้และตัวเมียที่สมบูรณ์เพศ
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะเพศปลาตัวผู้และตัวเมีย

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

การเลี้ยงปลาตะเพียนมีรูปแบบการเลี้ยงหลายลักษณะ ได้แก่ การเลี้ยงในบ่อดิน ในนาข้าว ในร่องสวน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาในบ่อดินกันมาก
การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน
     บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาตะเพียนควรมีขนาดตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไปน้ำลึก 1 เมตร ควรมีการเตรียมบ่อโดยโรยปูนขาว อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่บ่อ 10 ตารามเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าควรกำจัดวัชพืชออกให้หมด ลอกโคลนเลนและแต่งคันบ่อให้เรียบร้อย ตากบ่อให้แห้งประมาณ 7 วัน การใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่ในอัตรา 50 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ใช้ 4 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ยยูเรีย) สำหรับอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมนั้นควรปล่อย 2 – 3 ตัวต่อตารางเมตร
อาหาร
      ปลาตะเพียนขาวสามารถกินอาหารได้หลายชนิด แต่โดยธรรมชาติแล้วปลาตะเพียนขาวขนาดเล็กไม่เกิน 3 นิ้ว จะกินพวกแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเปลี่ยนมากินอาหารเป็นพวกพืชน้ำชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรมีทั้งการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงในระยะเริ่มต้น เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของปลาพร้อมทั้งการให้อาหาร สมทบที่มีโปรตีนในอาหารที่เหมาะสม
การให้อาหาร
     การให้อาหารปลาตะเพียนขาวจะให้ในอัตรา 3 – 10 % ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง (ปลา 100 กรัมให้อาหาร 3 – 10 กรัม) ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของปลา ปลาขนาดเล็กจะต้องการอาหารที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่ โดยให้วันละ 1 – 2 ครั้ง การให้อาหารควรให้ตรงเวลา และสม่ำเสมอในบริเวณเดียวกันทุกครั้ง
ภาพที่ 3 การให้อาหารปลาตะเพียนขาว
โรคพยาธิและการป้องกันรักษา
     ปลาตะเพียนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างไว เช่นการเปลี่ยนอุณหภูมิในรอบวัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นกรด – ด่างของน้ำ ตลอดจนสารพิษต่าง ๆ ที่มากระทบ ดังนั้นการจัดการด้านคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีความจำเป็นเพราะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไว้ล่วงหน้าก่อน
สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค

- นำลูกปลาติดโรค
–พยาธิมาเลี้ยงโดยได้กำจัดโรคพยาธิเสียก่อน
 - เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป
- ให้อาหารมากเกินไป
- น้ำมีคุณภาพเสื่อมโทรมลง
 - คุณภาพอาหารต่ำหรือไม่สด

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง 
ปลาตะเพียนทอง
ปลาตะเพียนทอง  
สัตวอื่นๆ
Red Tinfoil Barb 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Barbus altus

ลักษณะทั่วไป
    
เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบเป็นสีดำ ครีบหางเป็นเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง
     อาหารได้แก่ พืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     มีความว่องไวและปราดเปรียว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ
      

ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbodes  altus  (Gunther,1868)ชื่อสามัญ          Red – tailed, Tinfoil  Barbถิ่นอาศัย           แม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง ทุกภาคของประเทศไทยอาหาร              พืชน้ำ แมลง และสัตว์น้ำประเภทกุ้งขนาด               25  ซม.ลักษณะทั่วไป    ปลาตะเพียนทอง มีลำตัวเป็นสีเงินหรือเหลืองทอง
ครีบท้องเป็น
สีเหลืองส้มสลับแดง หางเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีแดงส้ม
ครีบหลังแดงหรือส้ม ปลายครีบสีดำมีขอบวาว มีความว่องไว และปราดเปรียว
เหมือนปลาตะเพียนขาว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและว่ายวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ
และมีชุกชุมมากในภาคกลาง

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว





   ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัด เลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
   การ เพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธี เลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน


แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย



ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตรา อินเดียปากีสถานและยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ




อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ



1. ความเป็นอยู่ 

ปลา ตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส 

2. นิสัยการกินอาหาร 

2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว 

2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน 

3. การแยกเพศ

ลักษณะ ภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ



เลี้ยงปลาตะเพียนขาว


                                         ปลาตะพากลักษณะคล้ายปลาตะเพียน
ปลา ตะเพียน ชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ ปลาตะเพียนขาว (นอกจากตะเพียนขาวแล้วยังมีตะเพียนชนิดอื่นอีก เช่น ตะเพียนหางแดง เป็นต้น) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

    ข้อมูล จากกรมประมงระบุว่า แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.
      การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อนั้น บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

   
การ เตรียมบ่อ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร หากเป็นบ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดี ขึ้น ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊น   ให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว




แม้ ไม่ใช่การปลูกพืชแต่การเลี้ยงปลาตะเพียนต้องใส่ปุ๋ย เพื่ออะไร ที่ใส่ปุ๋ยก็เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น ปุ๋ยที่ว่านั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน



   ปลา ที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า “ผำ”) ใช้โปรยให้กินสด ๆ เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อ การให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
    ลูก ปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม


ปลาตะเพียนขาว นัก ตกปลาทั่วไปคงใช้ รำข้าว ขนมปังปั่น ผสมน้ำตก แต่ที่ตกกันยังมีอีกสองอย่างที่เป็นเหยื่อตกคือ ผักชี และอีกหย่างที่นักตกปลาอาชีพใช้คือต้นหญ้าขนจะเป็นพุ่มกอความสูงเมื่อโต ประมาณ 1ฟุตกว่าๆ
เทคนิคการตกตะเพียนขาว  อย่าง ที่คลองดำเนินสะดวกหรือคลองทั่วๆไป ผูกเบ็ดแล้วใส่ทุ่นลอยครับเกี่ยวผักชีทุ่นที่ใช้กันเลยในอดีตก็ก้านต้นปอ ครับตอนนี้ใช้โฟมดีที่สุดหาง่ายทำเป็นท่อนกลมยาวประมาณ 2 นิ้ว ความลึกของทุ่นไม่เกิน 1 ฟุต เวลาปลาเข้ากินก็สังเกตุทุ่นพอทุ่นจมตวัดคันได้เลยแล้วทีนี้ก็มาถึงพราน อาชีพใช้ต้นหญ้าขนจะงามมากๆตอนหน้าฝน ซึ่งก็ตรงกับช่วงที่เหมาะจะตกปลาตะเพียนขาว ผูกติดกับไม้ไผ่เล็กๆหรือต้นอ้อก็ได้โดยผูกมัดเป็นกำใหญ่หน่อยเวลาผูกเอาทาง ด้านยอดของต้นหญ้าหันลงก้นคลอง 45 องศา แล้วปักลงตงชายกอหญ้าริมคลองหรือกอผักตบชวา ให้หญ้าที่อ่อยจมน้ำลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมงถ้ามีตัวปลาจะเริ่มเข้ามากินให้ดูจากการโยกของไม้ไผ่หรือต้นอ้อ ใช้ต้นหญ้าต้นเล็กๆหรือยอดอ่อนมาเกี่ยวเบ็ดวางทุ่นลึกประมาณ 1 ฟุต หย่อนลงใกล้ๆกับเหยื่อล่อ พอทุ่นจมก็ตวัดเบ็ดได้เลยพรานอาชีพจะอ่อยเหยื่อ 2 ที่แล้วเปลี่ยนสลับตกไปเรื่อยๆโดยอ่อยไม่ห่างกันมากนักในอดีตใช้เรือพายตกนะ ครับปัจจุบันก็ยังมีตกอยู่แต่น้อยคนลง เพราะพรานปลาอาชีพก็น้อยลงตอนนี้เป็นตาข่ายครับดักเลยแต่มันก็คนละอารมณ์กัน พรานอาชีพในที่นี้ก็คนที่เป็นช่วงว่างจากการทำสวนหรือรับจ้างถ้าเป็นปลาตัว ใหญ่ๆเมื่อติดเบ็ดแล้วต้องลากเข้ามาใกล้ๆเรือแล้วช้อนขึ้นมาแต่เป็นตัวเล็กๆ ตวัดเบ็ดก็ลอยขึ้นเรือเลย


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:



http://www.fisheries.go.th

http://www.fishing108.com